วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

HA กับ Competency

Competency เป็นเครื่องมือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ยังมาแรงในทุกวงการ เมื่อเร็วๆนี้ทาง พรพ.ได้รับเกียรติจาก ดร.จิรประภา อัครบวร จาก NIDA มาเป็นวิทยากรในเรื่องนี้ ท่านให้ความหมายว่า Competency คือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในตำแหน่งงานของแต่ละองค์กร เป็นเหมือน foundation ที่เอาไปใช้ในการสรรหา พัฒนา เลื่อนตำแหน่ง
Competency เพิ่มคุณค่าให้กับคนและองค์กร เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน (Critical incident) พฤติกรรมของคนจะโดดเด่นขึ้นมาอย่างชัดเจน ในงานที่ง่ายแยกไม่ออกว่าคนที่เก่งกับคนไม่เก่งต่างกันอย่างไร ในงานที่มีการใช้ทักษะมากขึ้น ความกดดันในงานจะเริ่มดึงศักยภาพของคนเก่งที่หลบซ่อนออกมา และในงานปราบเซียน คนเก่งจะทำได้ดีกว่าอย่างชัดเจน การกำหนด Competency จึงควรพิจารณาว่าเราต้องการ Competency อะไรสำหรับงานยากๆหรือเหตุการณ์คับขันมากกว่าที่จะกำหนดจาก Job description ทั่วๆไป
องค์กรที่มีการนำ Competency มาใช้ในการพัฒนาคน จะประสบความสำเร็จสูงกว่า ในทางธุรกิจจะเห็นชัดเจน คือการสร้างผลกำไรได้มากกว่า แต่สำหรับองค์กรภาครัฐ เกิดคำถามขึ้นมาว่าจะวัดความสำเร็จขององค์กร หรือวัดความสำเร็จของการนำ Competency มาใช้ได้อย่างไร
องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำ Competency มาใช้ ต้องใช้ควบคู่กับ KPI
KPI ขององค์กรคือเป้าหมาย คือโจทย์ คือสิ่งที่ต้องการบรรลุ
Competency คืออาวุธ หรือวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์
ถ้ามี KPI แต่ไม่มี Competency ก็เหมือนมีเป้าแต่ไม่มีอาวุธ มี Competency แต่ไม่มี KPI ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ไปเพื่อตอบโจทย์อะไร เมื่อโจทย์เปลี่ยน Competency ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย
Competency ไม่ใช่แค่เพียงความรู้และทักษะ แต่ครอบคลุมไปถึงบทบาททางสังคม(Social role) ภาพลักษณ์ของตนเอง(Self image) บุคลิกภาพ (Trait) และแรงจูงใจ (Motive)
มีการแบ่ง Competency เป็น 3 ประเภท
1. Core competency เพื่อหล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมที่องค์กรต้องการ
2. Managerial competency เพื่อมุ่งเน้นการจัดการงานให้สำเร็จ เป็นสิงที่บุคลากรทุกคนต้องมี ระดับปฏิบัติก็ต้องมีเพื่อจัดการกับงานของตนเอง ระดับผู้บริหารก็ต้องมีมากขึ้นเพื่อจัดการให้งานของหน่วยงานและองค์กรประสบความสำเร็จ
3. Technical competency เพื่อให้มั่นใจว่ามีความรู้และทักษะในงานทำ

Competency จริงๆแล้วไม่สามารถที่หน่วยงานจะเลียนแบบกันได้ เพราะ Competency เป็นเรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องที่จะเอาประสบการณ์จริงและเป้าหมายขององค์กรมาเป็นตัวกำหนด Competency เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละองค์กร ปัจจุบันได้มีการกำหนด list ของ competency มาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรทำงานง่ายขึ้นในการคัดเลือก

อ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ได้กล่าวว่า ถ้าองค์กรคิดจะทำเรื่องนี้ ควรทำด้วยความเข้าใจและมีเป้าหมายชัดเจน ไม่ใช่ทำเพื่อให้ผ่าน HA ทั้งนี้ไม่ว่าคิดจะทำเรื่องใดก็ตาม การคิดเพียงแค่ว่าทำเพื่อผ่าน HA จะเป็นการตั้งเป้าหมายที่สั้น ทำให้คำถามและวิธีคิดของเราจะสั้น คือถามแต่ว่า HA จะเอาอะไร แต่ถ้าทำเพื่อเป้าหมายขององค์กร เราจะถามว่าองค์กรของเราต้องการอะไร แล้วกระบวนการเยี่ยมสำรวจก็จะทำให้เราเห็นตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าที่ตั้งใจไว้นั้น บรรลุเป้าหมายหรือไม่

อ่านเพิ่มเติมใน เมดิคอลไทม์ 1-15 มกราคม 2549 โดยอ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทำอย่างไรให้คนดี คนเก่งทำงาน

สูตร "คนดี คนเก่ง" เพียงพอไหมสำหรับการทำงานปัจจุบัน

เมื่อผู้บริหารมองหาคนเข้ามาทำงานให้องค์การมักเลือกหาคนที่เก่งในงานเป็นอันดับแรก ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะทำให้งานเสร็จ สำเร็จ ซึ่งคนเก่งนี้ยังไม่บ่งบอกว่าเป็นคนดีหรือไม่ และถ้าเจอประเภทเก่งแล้วดีแถมมาด้วยก็จะยิ่งทำให้รู้สึกว่าน่าทำงานร่วมกันได้ดีและราบรื่น แต่ท่านเคยเจอลูกน้องที่ทั้งเก่งและดี แต่ไม่ค่อยอยากจะรับงานที่ท้าทายไปทำ หรืองานที่เราเห็นว่าเขามีความสามารถแต่เขากลับอ้างว่าความสามารถไม่ถึง จนเราไม่แน่ใจว่าเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ หรือไม่ต้องการรับงานนั้นมาทำกันแน่

สูตร "คนดี คนเก่ง" จึงไม่เพียงพอที่จะทำให้องคืการสามารถแข่งขันได้

Dave Ulrich ได้ให้สูตรทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) อันเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ ไว้ว่า ทุนทางปัญญานี้ต้องประกอบด้วย ความสามารถ คูณ ความผูกพันหรือสัญญาใจ

Intellectual Capital = Competency X Commitment

โปรดสังเกตุว่า Dave Ulrich ใช้คูณนะ ไม่ใช่บวก นั้นหมายถึงว่า ทุนทางปัญญาจะมีคุณค่าสูง หากคนเหล่านี้มีทั้งความรู้ความสามารถที่องค์การต้องการและความผูกพันหรือสัญญาใจกับงานและองค์การ

Competency นั้น ในที่นี้หมายถึงความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมที่องค์การต้องการ ไม่ใช่ความสามารถ หรือสมรรถนะตามที่มีผู้แปลกัน เพราะบุคลากรในองค์การที่มีความรู้ ความสามารถมาก แต่อาจไม่ได้มีตรงกับสิ่งที่องค์การต้องการก็ได้ เท่ากับองคืการอาจกำลังจ่ายค่าความสามารถของคนๆนี้ไปฟรีๆก็ได้

ส่วน Commitment นั้น หมายถึง ความผูกพันหรือหากให้ตรงความ คือสัญญาใจซึ่งกินความลึกซึ้งกว่าความผูกพันมากนัก สัญญาใจนี้มีสองระดับคือ สัญญาใจกับงาน และสัญญาใจกับองค์การ

สัญญาใจกับงานนั้นหมายถึง คนที่ทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างทุ่มเท สุดความสามารถ แต่อาจเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆในองค์การต่างๆ อย่างนี้ถือว่ามีสัญญาใจกับงานเท่านั้นแต่ไม่มีสัญญาใจกับองค์การ สัญญาใจกับองค์การนั้น คือคนที่ทำงานแล้วยอมที่จะเปลี่ยนงานที่ทำ หน้าที่ความรับผิดชอบไปเรื่อยๆ แต่จะไม่เปลี่ยนองค์การ คนเหล่านี้รักองค์การอยากทำงานเพื่อทุ่มเทให้องค์การประสบความสำเร็จ ให้อะไรก็ทำ เพราะรักที่จะอยู่กับองค์การ

สัญญาใจดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานและผลงาน ท่านลองสังเกตจะพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เสียสละตนเองทำงานอาสาสมัคร ไม่ว่าจะเป็นเข้าวัด เข้าโบสถ์ หรืองานสาธารณกุศลใดๆก็ตาม บางคนอยู่บ้านไม่เคยแม้แต่กวาดบ้านเอง พอเข้าวัดกับอาสาทำงานเหล่านี้โดยไม่ได้หวังอะไร คนเหล่านี้ต้องได้รับแรงจูงใจบางอย่างเขาจึงแสดงความสามารถ และความเต็มใจในการทำงานมากขนาดนั้น

แล้วแรงจูงใจเหล่านั้นมาจากไหน
หากกลับมามองในองค์การ ท่านผู้บริหารคงเคยเผชิญกับการมีคนที่มีความสามารถมากมายในองค์การ แต่ขาดสัญญาใจกับงานที่ทำ ท่านก็อาจได้องค์การที่เต็มไปด้วยคนเก่งแต่ทำงานไม่เสร็จ หรืออีกกรณีที่ท่านอาจจะเจอคือ มีคนที่มีสัญญาใจกับงานสูงแต่ขาดความสามารถ ซึ่งองค์การของท่านจะมีสภาพคือ มีแต่คนขยันทำงานเสร็จเร็วแต่ผลงานอาจไม่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีคุณภาพตามต้องการได้ ท่านคงสรุปได้ว่าทั้งสองกรณีนี้ เป็นอันตรายต่อองค์การทั้งสิ้น
การจะสร้างให้คนเกิดสัญญาใจกับองค์การนั้นคงไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับคุณค่า (Value) ที่แต่ละคนมี หัวหน้าหรือผู้บริหารต้องหาให้เจอว่าลูกน้องของท่านให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรในชีวิต บางคนทำงานขอให้ได้ค่าตอบแทนสูงเป็นใช้ได้ ไม่สนใจยศฐาบรรดาศักดิ์ใดๆ สำหรับบางคนขอให้มีตำแหน่งมารอ เป็นทำได้ทุกอย่าง
Dave Ulrich ให้แนวทางการพัฒนาสัญญาใจเพื่อเราสามารถนำไปใช้กับลูกน้อง หรือพนักงานในองค์การโดยแบ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดสัญญาใจออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ แรงกระตุ้นจากภายนอก และแรงกระตุ้นจากภายใน

แรงกระตุ้นจากภายนอกที่เราคุ้นเคยคือ ค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในงาน กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ แต่หากไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ที่ทำให้คนเกิดสัญญาใจกับงานและองค์การ นั่นคือ ตัวผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้า หากความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องไม่ดีแล้ว ส่วนใหญ่ลูกน้องเลือกออกไปตายเอาข้างหน้าดีกว่า

ส่วนแรงกระตุ้นภายในได้แก่ สำนึก คนที่ทำงานอย่างมีสำนึกนั้น มาจากการที่ทำงานแล้ว หัวหน้าหรือผู้ร่วมงานมีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจอกเขาอกเรา ลูกน้องจึงอยากที่จะทำงานให้อย่างเต็มที่ บางครั้งท่านจะเห็นพนักงานที่ทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์การโดยเขารู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณองค์การ เพราะยามที่เขามีปัญหาส่วนตัวหรืองาน องค์การซึ่งก็คือผู้บริหารหรือผู้ร่วมงานช่วยเขาหลุดพ้นจากปัญหาได้ ในอีกกรณีหนึ่งคือ องค์การช่วยให้เขาได้รับความเจริญเติบโตในการทำงาน มีความก้าวหน้าในงาน อันมาจาก การได้ทุนการศึกษา การฝึกอบรม หรือแม้แต่การให้งานที่ท้าทาย สำหรับบางคนคือการให้โอกาสได้ทำงานที่พนักงานชอบ ก็เท่ากับท่านได้เสริมแรงกระตุ้นภายในแล้ว
เรื่องของการสร้างสัญญาใจนี้ จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับลูกน้องหรือพนักงานในองค์การเป็นรายบุคคล หากท่านต้องการรักษาคนๆนั้นไว้และต้องการให้คนเหล่านี้ทำงานให้ท่านอย่างทุ่มเทจนสุดความสามารถ และนี่คือแนวทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรปัจจุบันที่ไม่ได้หมายถึงการให้การศึกษาหรือฝึกอบรมเท่านั้น แต่หมายถึงการพยายามดึงเอาความสามารถของพนักงานออกมาใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพนักงานและองค์การ

ผศ.ดร.จิรประภา อัครบวร : ประชาชาติธุรกิจรายสามวัน วันที่ 25-28 สิงหาคม พ.ศ. 2548

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คุณสมบัติผู้บริหาร

หลายครั้งที่ผู้บริหารจำเป็นต้องปรับวิธีการนำซึ่งอาจจำแนกกระบวนการบริหารเป็น 2 ลักษณะ คือ บริหารแบบรู้คำตอบ คือ การบริหารในลักษณะของการวางแผนกำหนดมาตรฐาน ควบคุม และ ประเมิน กับการบริหารในลักษณะของการค้นหาคำตอบ ซึ่งเป็นการค้นหาความเป็นไปได้ หรือวิธีการบริหารแบบใหม่ ที่ไร้รูปแบบนั่นเอง ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ผู้ชำนาญด้านการบริหารการจัดการระดับโลก กล่าวไว้ว่า ภารกิจ 7 ประการ ของผู้บริหารในอนาคตคือ
1. ต้องบริหารงานอย่างมีวัตถุประสงค์ (Management By Objective)
2. ต้องเสี่ยงยิ่งขึ้นและมองไกล มองยาว
3. สามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้
4. ต้องสามารถสร้างทีมงานได้แต่ละคนในกลุ่มต้องสามารถจัดการงาน และวัดผลงานของ ตนเองได้ อย่างสัมพันธ์กับเป้าหมายรวม
5. สื่อสารผ่านข้อมูลได้ฉับไว ชัดเจน ทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ในทีมได้
6. ต้องเห็นภาพรวมธุรกิจและสามารถบูรณาการเข้ากับ Function ที่ตัวเองถนัดได้
7. ต้องเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมเข้ากับสภาพแวดล้อมให้ได้

ออร่า ของคุณสีอะไร

ออร่า ของคุณสีอะไร ???
>>>>> ไปดูวิธีการคำนวณกันเลย.....

>
> ง่ายนิดเดียว เพียงคำนวณตามสูตร นำวัน เดือน ปี ค.ศ. ที่เกิด มาบวกกัน
> สมมุติว่า เกิดวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960
> ก็นำเลขทั้งหมดมาบวกกันคือ 5 + 5 + 1960 = 1970
> จากนั้นก็แยกตัวเลขออกมาบวกกันอีกครั้ง
> จะได้เป็น 1 + 9 + 7 + 0 = 17 ก็นำมาแยกบวกอีกจนกว่าจะได้เลข 1 ตัว
> จะได้เป็น 1 + 7 = 8 เมื่อได้ผลลัพธ์เป็นเลขตัวเดียวแล้ว ขอให้ดูว่า
> ตัวเลขที่ได้ตรงกับสีพื้นฐาน
> สีอะไร มีความหมายว่าอย่างไร แต่ถ้าเลขบวกกันแล้วได้ผลเป็น 11 และ 22
> ไม่ต้องแยกบวกอีกเพราะเป็นพวกพิเศษกว่าพวกอื่น
>
> 1. สีแดง ศักยภาพ : ผู้นำ
> พวกมีสีแดงเป็นสีพื้นฐาน จะมีความกระตือรือร้น เป็นผู้นำ
> เต็มไปด้วยพลังกระฉับกระเฉง มีเสน่ห์
> สามารถพูดจาโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้ดี เป็นคนสนุกสนาน โอบอ้อมอารี
> กล้าหาญทะเยอทะยาน มองโลกในแง่ดี ชอบการแข่งขันเป็นสีที่นำมาซึ่งความสำเร็จ
> คุณควรหาอะไรที่ท้าทายความสามารถทำแต่อย่าให้ถึงกับว่า คุณวิ่งไม่เร็ว
> แต่คุณสร้างโครงการท้าทายความสามารถ โดยฝันที่จะเป็นนักกีฬาโอลิมปิก
> อย่างนี้มันเกินความสามารถมากไป ต้องพิจารณาให้พอเหมาะสม
> ข้อเสีย มักจะขี้กังวล ตื่นตระหนก และอาจหลงตัวเอง
> รวมทั้งอาจจะบ้างานมากไปจนเครียดควรรู้จักพักผ่อน และคลายความเครียด

>
> 2. สีส้ม/แสด ศักยภาพ : มนุษยสัมพันธ์ดี
> คุณเป็นคนอบอุ่น น่าคบ เข้ากับคนง่าย
> ชอบเป็นที่ปรึกษาปัญหาให้ใครต่อใคร ชอบช่วยเหลือและ
> ทำตัวให้เป็นประโยชน์อยู่เสมอ มีจิตใจเป็นสมถะ ชอบปิดทองหลังพระ
> คุณควรคบกับคนที่มีนิสัยคล้ายคลึงกัน ไม่งั้นคนอื่นจะเอาเปรียบคุณ
> ข้อเสีย ขี้เกียจ ใจน้อย มักถูกคนอื่นเอาเปรียบ
>
> 3. สีเหลือง ศักยภาพ : มีความคิดสร้างสรรค์ ฉลาด
> คุณเป็นคนคิดอะไรรวดเร็ว มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ เข้าสังคมง่าย
> ปรับตัวเก่ง ชอบคุยถกเถียงปัญหา ชอบเรียนรู้
> และทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน มีพรสวรรค์ด้านการพูด
> งานที่ทำควรเกี่ยวกับการพูดเป็นสื่อ เช่น ครู เซลล์แมน นักการทูต
> ที่ปรึกษา ฯลฯ หรืองานอาชีพที่ต้องใช้คำพูดเป็นหลัก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
> และเรียนรู้อะไรได้รวดเร็ว
> ข้อเสีย จับจด ขี้อาย โกหกเก่ง
>
> 4. สีเขียว ศักยภาพ : รักษาโรค (สีเขียวเป็นสีของการรักษาโรค)
> คุณเป็นคนรักสงบ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจดี มีพลังจิต ไว้วางใจได้
> คุณอาจมีลักษณะภายนอกหงิมๆ หรือเรียบง่าย แต่ส่วนลึกแล้วดื้อน่าดู
> คุณเป็นพวกสู้งาน หนักเอาเบาสู้
> ข้อเสีย ดื้นรั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
>
> 5. สีน้ำเงิน ศักยภาพ : เป็นได้ทุกอย่าง
> คุณเป็นพวกมองโลกในแง่ดี แม้ชีวิตจะลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้าง
> แต่ยังยิ้มสู้เสมอ แสงออร่าของคุณจึงกว้างและสว่างไสวเสมอ
> ทำให้กระชุ่มกระชวย ดูอ่อนกว่าวัย คุณมีความจริงใจ ซื่อสัตย์
> ปากกับใจตรงกัน รักการผจญภัย มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
> ชอบพบปะผู้คน และสนใจการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีพรสวรรค์หลายๆ ด้าน
> ข้อเสีย ชอบทำงานหลายๆ อย่างในคราวเดียวกัน จึงกลายเป็นคนจับจด
> ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างนอกจากนั้นยังเป็นพวกชีพจรลงเท้าและขาดความอดทนอีก
> ด้วย
>
> 6. สีคราม ศักยภาพ : มีความรับผิดชอบสูง
> คุณชอบงานด้านสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลือผู้อื่น ชอบรับผิดชอบงาน
> จิตใจโอบอ้อมอารี เป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่เห็นแก่ตัว
> ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น ควรหาเวลาเป็นตัวของตัวเองบ้าง
> มีมาตรฐานการทำงานสูง จึงมักหงุดหงิดกับอะไรๆที่ไม่ได้ตามมาตรฐานของตนเอง
>
> 7. สีม่วง ศักยภาพ : ฉลาดล้ำลึก และสันโดษ
> คุณมีจิตใจละเอียดอ่อน
> สนใจในศาสตรลึกลับจนบางครั้งดูเหมือนเป็นคนลึกลับ คุณมีประสาทสัมผัสที่๖
> รักสันโดษจนดูเหมือนคุณจะเข้ากับใครไม่ได้
> ข้อเสีย มักดูถูกความคิดผู้อื่น และเก็บความรู้สึกมากเกินไป
>
> 8. สีชมพู ศักยภาพ : นักบริหาร นักธุรกิจ
> คุณเป็นคนมีความตั้งใจจริง แต่ค่อนข้างดื้นรั้น วางมาตรฐานตัวเองไว้สูง
> มีความเด็ดเดี่ยว และมุ่งมั่นที่จะให้บรรลุเป้าหมาย และความสำเร็จ
> อาชีพของคุณจึงต้องเกี่ยวกับการบริหารและความรับผิดชอบ
> ในส่วนลึกเป็นคนโรแมนติค และถ่อมตน รักความสงบ มีเมตตา
> ขณะเดียวกันจะยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ยอมถอย ถ้าคุณรู้ว่าเป็นฝ่ายถูก
> ข้อเสีย มุงานมากเกินไปจนเครียด ควรหางานอดิเรกคลายเครียด
>
> 9. สีทองเหลือง ศักยภาพ : นักสังคมสงเคราะห์
> คุณเป็นคนอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
> เป็นทั้งนักปราชญ์และเป็นคนมีคุณธรรมเต็มเปี่ยม คุณมี
> ความสุขมากที่สุดเมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
> เป็นคนมีความสุขและมองโลกในแง่ดี
> ข้อเสีย ปฏิเสธใครไม่เป็น จึงถูกเอาเปรียบบ่อยๆ ควรรู้จักปฏิเสธบ้าง
>
> 11. สีเงิน ศักยภาพ : นักอุดมคติ
> คุณมีประสาทสัมผัสที่ ๖ มีศักยภาพสูงในหลายๆ ด้าน
> เต็มไปด้วยความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ชอบฝันหวาน
> แต่คุณมักจะฝันมากกว่าลงมือทำจริงๆ เป็นคนซื่อสัตย์
> มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มองโลกในแง่ดี
> ถ้ามุมานะสร้างความฝันให้เป็นความจริงคุณจะไปได้ไกลมากทีเดียว
> ข้อเสีย ขี้เกียจ และบางครั้งจะเครียดจนใครๆ ไม่กล้าเข้าใกล้
> ควรหาเวลาพักผ่อน ฝึกสมาธิ หรือโยคะ
> 12. สีทอง ศักยภาพ : ไม่มีขอบเขตจำกัด
> คุณสามารถทำเรื่องใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก
> หรือทำงานใหญ่ให้กลายเป็นเรื่องปอกกล้วยเข้าปาก
> คุณจะประสบความสำเร็จไปแทบทุกเรื่อง เป็นคนมีเสน่ห์จูงใจ
> ทำงานหนักเอาเบาสู้ มีเป้าหมาย ในการทำงานที่แน่นอนมีอุดมคติและความสามารถสูง
> เป็นผู้นำสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นได้
>
> ความหมายสีของออร่า
>
> สีของความคิดและอารมณ์
> จะมีลักษณะเป็นหมอก มีความไหลปรากฏเป็นหย่อมๆ
> จะเห็นได้ชัดเจนบริเวณรอบศีรษะ และเหนือบ่า มีสีสันต่างๆ เช่น
>
> สีชมพู หมายถึงพลังที่แจ่มใส เต็มไปด้วยความรัก อารมณ์ขัน ถ่อมตนสามารถ
> ปลอบประโลม ผู้อื่น โรแมนติก ข้อเสียคือมักจะใจคอโลเล
>
> สีแดง เป็นสีที่แสดงถึงความทะเยอทะยาน เต็มไปด้วยพลังงานมีความกระฉับกระเฉง
> และ มีพลังทางเพศ
> ถ้าเป็นสีแดงมืดอาจหมายถึงอารมณ์รุนแรง ถ้าเป็นสีแดงสดใสหมายถึงความ
> ภาคภูมิใจ และทะเยอทะยานในทางที่ถูกที่ควร ถ้าสีแดงขุ่นเป็นพวกใจคอโหดร้าย
>
> สีส้ม / แสด เป็นสีของความกระฉับกระเฉงว่องไว มีความสุข สุขภาพ
> ที่เต็มไปด้วยพลัง ถ้ามีแสงสีนี้มากเกินไปจะกลายเป็นคนเย่อหยิ่ง
> สีนี้ยังเป็นสีที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อด้วย
>
> สีส้มมัวหม่น หรือ ส้มปนน้ำตาล แสดงถึงปัญญาต่ำ ถ้าสีส้มแดงหมายถึง
> เย่อหยิ่ง อวดฉลาด
>
> สีเหลือง เป็นสีที่มองเห็นง่ายที่สุดในออร่า
> เป็นสีของความฉลาดความเมตตา มองโลกในแง่ดี รักเพื่อนมนุษย์
> นอกจากนั้นยังเป็นสีของภูมิคุ้มกันโรค สีเหลืองอมส้มแสดงถึง ความฉลาด -
> ปราดเปรื่อง สีเหลืองขุ่นค้นแสดงถึงความอิจฉาริษยา หรือความคลางแคลงใจ
>
> สีเขียว เป็นสีของจิตใจที่ละเอียดอ่อน มีความเข้าใจผู้อื่น
> นอกจากนั้นยังเป็นสีของ ความรัก การเปลี่ยนแปลง การรักษาโรค
> ความสามารถในการใช้มือ และยังเป็นสีที่แสดงถึงความสมดุล
>
> ถ้าเป็นสีเขียวสดใสแสดงว่าเป็นคนปรับตัวเก่ง ใจดี ชอบอิสระ
>
> ถ้าเป็นสีเขียวมืดจะเป็นพวกขี้โกง ขี้อิจฉา
>
> ถ้าเป็นสีเขียวอมฟ้าเป็นพวกชอบช่วยเหลือผู้อื่นไว้วางใจได้
> เข้าอกเข้าใจผู้อื่น และแสดงถึงความสามารถในการรักษาโรค
>
> ถ้าเป็นสีเขียวขี้ม้าเป็นพวกชอบหลอกลวง ต้มตุ๋น ขี้โกง และขี้เหนียว
>
> สีน้ำเงิน เป็นสีของความสงบและสัจจะ เป็นสีของการสื่อสาร
> พลังจิตความฉลาด ความมีอุดมคติ ขยันขันแข็ง ความสำเร็จ
> สามารถยืนหยัดอยู่บนขาของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ซื่อตรง จริงใจ
> และชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักจะเป็นพวกสมถะ แต่ใจคอหงุดหงิดง่าย
>
> สีน้ำเงินขุ่นแสดงว่าทัศนะวิสัยถูกปิดกั้น กลายเป็นคนขี้กังวลและขี้ลืม
>
> สีคราม เป็นสีของพลังจิต สัมผัสที่ 6 โทรจิต ความฉลาดล้ำลึกความคิดสร้างสรรค์
> และความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมีความจริงใจ ชอบค้นหาสัจจะความจริงของชีวิต
>
> สีม่วง เป็นพวกจิตละเอียดอ่อน เป็นตัวของตัวเอง มีสัมผัสที่ 6
> ชอบทางสมาธิ และโน้มเอียงไปทางศาสนา ชอบเรื่องลี้ลับ
> คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีสีนี้ ผู้ที่มีสีนี้มักจะมีพลังจิตสูงแต่อาจมีปัญหา
> เกี่ยวกับบริเวณท้อง
> เนื่องจากจักระช่วงบนพัฒนาล้ำหน้าจักระช่วงล่าง
>
> สีน้ำตาล เป็นสีที่แสดงถึงความคิดแคบๆไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เห็น
> แก่ตัว
> ชอบคุยแต่เรื่องตัวเองเป็นคนน่าเบื่อ

เป็นไงกันบ้างค่ะ ได้สีอะไรกันบ้างเอ่ย
สีที่ได้กับคำทำนาย ตรงกับตัวคุณไหมค่ะ
แม่นมากๆเลยอ่ะ
อิอิ...คำทำนายสนุกๆมีสาระ ก็เอามาให้อ่านกันค่ะ